top of page
black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

"ความลับทางการเงิน"  ที่ธนาคารไม่อยากให้คุณรู้

"การทำธุรกิจที่ดีที่สุด "

คือไม่กู้ธนาคารและไม่ใช้เงินตัวเอง

อยากหยุด วงจรทำธุรกิจหาเงินให้ธนาคาร และหยุดความเสี่ยงที่ต้องขายบ้าน ขายรถ เพื่อมาทำธุรกิจ
อ่านหน้านี้ให้จบ

black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

การระดมทุนทางธุรกิจ 
มี 2 วิธีด้วยกัน

วิธีที่ 1 : การขายหุ้นเพิ่มทุน หรือ Private Placement

วิธีที่ 2 : การทำ ICO หรือ IDO ด้วย TOKEN

PP1Web

แบบที่ 1

ระดมทุนด้วยหุ้น

  • ออกหุ้นเพิ่มทุนโดยใช้กฏหมายนิติบุคคล

  • บริษัทจำกัดทุกประเภทสามารถทำได้

  • ราคาหุ้นอ้างอิงมูลค่าบริษัท

  • เงินที่ได้เป็นทุนของบริษัท ที่สามารถใช้ได้

  • เสนอขายได้ทั้งบุคคลทั่วไป/กองทุนหรือบริษัท

ICO1Web

แบบที่ 2

ระดมทุนด้วย Token

  • ออกเหรียญผ่าน Smart Contract

  • ใช้กฏหมายทรัพย์สินดิจิตอล

  • เสนอขายผ่าน ICO Portal ที่ได้รับอณุญาติจาก กลต. เท่านั้น

  • ราคาเหรียญอ้างอิงจาก Liquidity  Pool และ Market Price 

black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

" The world belong to those who read "  

หากคุณอ่านบทความที่เราตั้งใจเขียนทั้งหมดอย่างละเอียด จะเปลี่ยนให้โลกในการทำธุรกิจของคุณไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

1 : แต่ละธุรกิจสามารถเลือกระดมทุนด้วยแบบใดแบบหนึ่ง หรือทั้ง 2 แบบก็ได้

2 : การขายหุ้นเพิ่มทุนเป็นที่นิยมสำหรับบริษัทจำกัด ที่ใช้วิธีนี้กันมาแล้วอย่างยาวนานทั้งในไทยและต่างประเทศ

3 : การระดมทุนด้วย ICO/IDO ผ่าน Token นั้นเป็นการเงินแบบใหม่ที่เกิดขึ้นภายใน 10 ปีที่ผ่านมา

4 : ทั้ง 2 แบบจะมีเงื่อนไข  ข้อจำกัด และข้อดีข้อเสีย ที่แตกต่างกัน

5 : ยกตัวอย่างเช่น Tiktok ของ บริษัท Bytedance เป็นเพียง " บริษัทจำกัด " ที่ระดมทุนแบบการขายหุ้นเพิ่มทุนและมีมูลค่าบริษัทมากกว่า ปตทหรือ PTT ที่อยู่ในตลาดหุ้นของไทยถึง 4 เท่า ทำให้ Bytedance เป็นบริษัทจำกัดที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก

6 : ยกตัวอย่างเช่น Real Toekn X ของบริษัทในเครือ Origin ของประเทศไทย ที่ทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์   ระดมทุนแบบ Investment Token [ ข้อมูลเพิ่มเติม กด ]

black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

เพิ่มเงินลงทุนทางธุรกิจสำหรับบริษัท " จำกัด "
ด้วยการขายหุ้นเพิ่มทุน [ Private Placement ]

WhyPP2Web

ทำไมคุณควร ขายหุ้นเพิ่มทุน

  • เปลี่ยนความฝันทางธุรกิจของเราเป็นมูลค่า "ที่คนอื่นมาร่วมลงทุนได้"

  • หลายคนมีเงิน "แต่ไม่รู้ทำอะไรดี"  และหลายคนทำธุรกิจที่ดี " แต่เงินทุนไม่เพียงพอ"

  • ไม่เสียอำนาจในการบริหารและตัดสินใจทางธุรกิจ ด้วยการกำหนดสัดส่วนหุ้นที่ขาย ( Dilution Control )

  • สร้างชื่อเสียงและสะสมเครดิตทางธุรกิจของผู้ก่อตั้ง ผ่านการระดมทุนทั้งในไทย และต่างประเทศ  เช่น   flash express ที่ขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับ Alibaba สำเร็จ

  • ได้ใช้เงินของนักลงทุนทีี่ไม่มีต้นทุนทางการเงิน ( ดอกเบี้ย ) เพื่อนำมาเรียนรู้ ลองผิดลองถูก สร้างฐานทางธุรกิจเพื่อเติบโต 

  • ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ด้วยเงินลงทุน ที่ไม่มีต้นทุน และไม่มีภาระดอกเบี้ย

  • ขาดทุนได้ก่อนเพื่อทำกำไรระยะยาว จากเงินของนักลงทุน เช่น GRAB ที่ขาดทุนถึง 9 ปี ก่อน IPO ที่มูลค่า 1 ล้านล้าน

  • นักลงทุนไม่กังวลกับการขาดทุน หากบริษัทเติบโตได้และมีมูลค่าทางธุรกิจมากขึ้นก็จะได้กำไรจากการลงทุนมหาศาลจาก Capital Gain โดยนำบริษัทเข้า IPO หลังจากขายหุ้นเพิ่มทุนแล้ว หรือวิธีอื่นๆ ที่ไม่ต้อง IPO ก็ได้ โดยเรียกว่า Exit Strategies

  • ไม่ต้องเอากำไรทางธุรกิจ "ที่อาจจะพอ หรือ ไม่พอ" มาลงทุนในโอกาศทางธุรกิจ ที่มีความเสี่ยง ซึ่งอาจทำให้กำไรหายไป โดยใช้เงินจากนักลงทุนแทน เช่น การลงทุนในเทคโนโลยีที่มีต้นทุนที่สูง

  • อาจทำให้บริษัทมีมูลค่า หลายพันล้าน หรือ หลายหมื่นล้าน ตั้งแต่เป็นบริษัทจำกัด

  • คัดเลือกคนทีคุณภาพมาร่วมธุรกิจหรือร่วมทำงาน โดยเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่คนที่เราต้องการ และจะทำให้เราได้ทั้งเงินลงทุนและความสามารถของผู้ถือหุ้นที่หลากหลาย

WhyPP4Web.jpg
black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

ตัวอย่างคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการขายหุ้นเพิ่มทุน

FAQ1Web

FAQ1

ทำไมคุณควรมีความรู้ เรื่องการขายหุ้นเพิ่มทุน 

ความแตกต่างระหว่างผู้ก่อตั้ง  ( Founder ) ธุรกิจในประเทศไทยและต่างประเทศคือ
# ผู้ก่อตั้งและบริษัทในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีวิชาการเงินสอนในโรงเรียนตั้งแต่อายุ 7 ขวบทำให้ผู้ก่อตั้งบริษัทเข้าใจเรื่องการเงินเป็นอย่างดี ทำให้บริษัทต่างๆ ในสิงคโปร์ ใช้การเงินเชิงรุกในการทำธุรกิจ เช่น  บริษัท Grab ที่ผู้ก่อตั้งเป็นนักการเงิน และได้วางโครงการการขายหุ้นเพิ่มทุนไว้ตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งบริษัท เพื่อสร้างมูลค่าบริษัทไปจนถึง 1 ล้านล้านก่อนเข้าตลาด และมีนักลงทุนยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนในมูลค่าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำเงินมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจ เช่น บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ยอมจ่ายเงิน 4,500 ล้านบาทลงทุนใน Grab  TH    แม้บริษัทจะขาดทุนอย่างต่อเนื่องก็ตาม  เพราะ Grab มีแผนที่จะทำกำไรให้นักลงทุนด้วย Capital ที่กำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจน
# ในขณะที่ผู้ก่อตั้งบริษัทในประประเทศไทยส่วนใหญ่ มักเกิดจากความชอบ ความชำนาญและความเชี่ยวชาญมาทำธุรกิจ   โดยเราไม่ได้สอนการเงินสำหรับการเป็นเจ้าของธุรกิจในโครงสร้างการศึกษาเลย ทำให้บริษัทในประเทศไทยทำธุรกิจแบบใช้

การเงินเชิงรับ   โดยไม่มีการกำหนดแผนการเงินและการระดมทุนไว้ล่วงหน้า  และใช้การกู้เงินจากธนาคารเป็นหลัก จนธุรกิจเติบโตเป็นที่สนใจของนักลงทุนแล้วค่อยมาศึกษาหาวิธีต่างๆ ที่ไม่ได้อยู่บนโครงสร้างทางการเงินที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งทำให้อำนาจการต่อรองในการลงทุนทั้งหมดขึ้นอยู่กับนักลงทุนเป็นหลัก    เช่น Premium Price  , Company Valuation    เพราะนักลงทุนอยากใด้หุ้นมากที่สุดในราคาที่ถูกที่สุดอยู่แล้ว   ซึ่งเป็นเรื่องปกติของฝั่งผู้ซื้อหรือผู้ลงทุน   ที่ต้องกำไรจาก Capital Gain ให้ได้มากที่สุด

#แต่เราในฐานะผู้ก่อตั้งที่เหนื่อยสร้างมาเกือบทั้งชีวิต

 และไม่สามารถต่อรองอะไรได้มาก เพราะไม่มีความรู้ทั้งไม่ได้วางแผนการเงินในการขายหุ้นเพิ่มทุนไว้เลย    หลายท่านที่ผมเคยเจอ มีหนี้ที่บริษัทเคยกู้มาในอดีต แต่นักลงทุนให้พลักไปเป็นของกรรมการ เพราะไม่อยากให้บริษัทขายหุ้นเพื่อใช้หนี้   อยากให้นำเงินไปทำธุรกิจมากกว่า ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่กรรมการหรือผู้ก่อตั้งที่ไม่เข้าใจเรื่องการเงินก็ต้องยอมรับไป เพราะอยากได้เงินจากนักลงทุนและต่อรองอะไรมากไม่ได้ บางคนขายยอมขายหุ้นเพื่อมาใช้หนี้ในอดีตเท่านั้นเอง แถมยังโดนลดสัดส่วนอีก  ซึ่งกลายเป็นว่า เหนื่อยสร้างมาทั้งชีวิต สุดท้ายรางวัลที่ตัวเองควรได้รับกลับไปอยู่กับนักลงทุนที่เพิ่งเข้ามาตอนที่ธุรกิจเริ่มจะดีขึ้น  ธุรกิจของคุณเป็นเพียงแค่เครื่องมือในการทำกำไร   

ดังนั้นเจ้าของบริษัทและเจ้าของธุรกิจทุกท่าน ถึงแม้ยังไม่มีแผนการขายหุ้นเพิ่มทุนในเร็วๆนี้ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจโครงสร้างที่เกี่ยวข้องสำหรับการขายหุ้นเพิ่มทุน เพราะถ้าสักวันหนึ่งธุรกิจของท่านเติบโตขึ้นและมีนักลงทุนสนใจ ท่านสามารถมีความรู้ในการเจรจาต่อรองได้
เพื่อให้ท่านจะไม่เสียเปรียบและเสียประโยชน์ที่สร้างธุรกิจมาอย่างเหนื่อยยาก

FAQ2Web.jpg

FAQ2

ทำไมบริษัท "จำกัด" ควรขายหุ้นเพิ่มทุน

  1. เป็นเครื่องมือทางด้านการเงิน "อย่างเดียว " ของบริษัทจำกัด ที่จะได้เงินทุนแบบไม่มีดอกเบี้ย

  2. นอกจากได้เงินลงทุนที่ไม่มีดอกเบี้ยแล้ว ยังได้ความสามารถทั้งทางตรงและทางอ้อมของผู้ถือหุ้นที่หลากหลายมาสนับสนุนธุรกิจด้วย

  3. เป็นการลดความเสี่ยงและกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ เพราะธุรกิจมีทั้งได้และเสีย (Risk Management)

  4. ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินมูลค่าบริษัท โดยการคำนวนจากราคาหุ้นที่ขายไปล่าสุด ที่นักลงทุนยอมจ่าย

  5. เพื่อเริ่มวางแผนการเงิน และบัญชี ที่จะต่อยอดเป็น IPO ในอนาคตได้

  6. ผู้ก่อตั้งบริษัท ที่ได้ผลตอบแทนจาก "Capital Gain" จากมูลค่าบริษัทและราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะ  มีผลตอบแทนที่ดีกว่ากำไรจากธุรกิจ

FAQ3WebLong.jpg

FAQ3

หากบริษัทมีรายได้และกำไรดีอยู่แล้ว

ควรขายหุ้นเพิ่มทุนไหม?

บริษัทระดับโลกทุกบริษัท จะทำการขายหุ้นเพิ่มทุน ก่อนที่จะ IPO  เสมอ

เช่น Grab ขายหุ้นเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาทำธุรกิจถึง 9 ปี ก่อนที่จะนำบริษัทเข้า IPO

และทั้ง Apple , Mircrosoft , Alibaba หรือบริษัทอื่นๆ ก็ขายหุ้นเพิ่มทุนตั้งแต่เป็นบริษัท " จำกัด " เช่นเดียวกัน

 เพราะกำไรของธุรกิจอาจไม่เพียงพอที่จะขยายการลงทุนต่างๆ ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้เพื่อแข่งกับภาวะตลาดและหากเรานำกำไรทางธุรกิจมาลงทุนต่อ อาจทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องและทำให้ต้องกู้เงินที่มีภาระดอกเบี้ย จนติดกับดักทางด้านการเงินในที่สุด

ดังนั้นการขายหุ้นเพิ่มทุนจะเป็นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อทดแทนการกู้ธนาคาร  และนำเงินที่ขายหุ้นได้มาลงทุนขยายธุรกิจให้เติบโตได้รวดเร็วขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องรอกำไรจากธุรกิจ เช่น Alibaba ขายหุ้นเพิ่มทุน จนเข้า IPO ที่มูลค่า 5 ล้านล้านบาท($167.62 billion ) และทำให้ Jack ma ที่เหลือหุ้นเพียง 8% ก่อนเข้า IPO กลายเป็นเศรษฐีอันดับ 1 ของจีนได้ หรือ Elon Musk ที่ถือหุ้นใน Tesla เพียงแค่ 26% ก็สามารถทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกได้

ซึ่งการขายหุ้นเพิ่มทุน นอกจากจะได้เงินเข้ามาลงทุนต่อยอดในธุรกิจแล้ว

ยังเป็นเครื่องมือในการประเมิณมูลค่าบริษัทจากราคาหุ้น เพื่อจะได้ทราบว่าผู้ก่อตั้งจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่จากหุ้นที่ถืออยู่ โดยการทำกำไรจากมูลค่าหุ้นจะได้มากกว่ากำไรจากธุรกิจด้วยซ้ำ

 

ดังนั้นต่อให้บริษัทของเรามีกำไรที่ดีอยู่แล้ว เราอาจใช้เครื่องมือการขายหุ้นเพิ่มทุนและ

ขายเพียงเล็กน้อยเพื่อมาตีตรา ตีมูลค่า ให้กับบริษัทและหุ้นที่เราถืออยู่ ว่านักลงทุน

ยอมจ่ายในราคาหุ้นละกี่บาท เราก็จะทราบว่า หุ้นที่เราถืออยู่จะมีมูลค่าเท่าไหร่

เมื่อคูณกับมูลค่าต่อหุ้นล่าสุดที่นักลงทุนยอมจ่าย

โดยเราจะเห็นได้ตามหน้าข่าวทั่วไป ในการจัดลำดับความร่ำรวยของบุคคลระดับโลก

จะคำนวนจากมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ ซึ่งไม่ได้คำนวนจากกำไรของบริษัทที่ทำได้

FAQ4Web

FAQ4

การขายหุ้นเพิ่มทุน เหมาะกับใคร?

การระดมทุนด้วยการขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ PP (Private Placement) นั้น

ทุกบริษัท "จำกัด" และทุกประเภทธุรกิจ สามารถทำได้ และมีกฏหมายรองรับ  จะเป็น SME , Start  Up , บริษัทรุ่นสองที่ส่งต่อมาจากพ่อแม่ หรือ ธุรกิจอะไรก็ได้ ที่จดทะเบียนเป็น " บริษัทจำกัด " สามารถขายหุ้นเพิ่มทุนได้ทั้งหมด

 ซึ่งในประเทศไทยเรามักจะเห็นตามหน้าข่าวแค่บริษัทที่เป็น Start Up  มี Technology และ Application โดยใช้คำว่า   " Unicorn "  ซึ่งก็คือบริษัทมีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญหรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แต่นั้นเราอาจไม่ทราบได้ว่าเขาขาย [  หุ้นละกี่บาท ] [ บริษัทเขามีกี่หุ้น ] 

ที่ ราคาหุ้นคุณกับจำนวนหุ้นแล้วกลายเป็น 30,000 ล้านบาท

เพราะเป็นบริษัทจำกัด ข้อมูลเหล่านี้เลยไม่ได้เปิดเผยกับสารธารณะ

ดังนั้นทุกธุรกิจที่จดทะเบียนเป็น " บริษัท จำกัด " สามารถขายหุ้นเพิ่มทุนได้ทั้งหมด โดยเราอาจต้องประเมิน 2 ส่วนดังนี้  ว่าเราเหมาะแค่ไหน

  • หากเราทำการขายหุ้นเพิ่มทุนไปแล้ว จะมีนักลงทุนสนใจที่จะลงทุนในธุรกิจของเราหรือเปล่า? เราต้องปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มเติม Busness Model ให้ดูทันสมัยขึ้นไหม เช่นถ้าเป็นธุรกิจดังเดิม ซื้อมา ขายไป เราจะทำยังไง ยกตัวอย่างเช่น  ธุรกิจค้าข้าว ถ้าไม่ใหญ่จริงจนเข้า IPO ก็อาจไม่มีนักลงทุนสนใจ แล้วตอนที่เป็นบริษัทจำกัด เราจะทำยังไง เพื่อสามารถขายหุ้นเพิ่มทุนได้   ก็คือการปรับปรุง Business Mode เพื่อดึงดูดนักลงทุนตั้งแต่เป็นบริษัทจำกัด นั้นเอง

  • ประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค์ ในด้านต่างๆ พร้อมทั้งความพร้อมภายในบริษัทของเราเอง ซึ่งแต่ละบริษัทและแต่ละธุรกิจจะมีความพร้อมและความต่างและความได้เปรียบที่ไม่เหมือนกัน
    ก็คือการทำ SWAT Analysis และ Risk Management ขั้นพื้นฐานที่จะกระทบกับบริษัทและผู้ก่อตั้งหากทำการขายหุ้นเพิ่มทุน เช่นโครงสร้างผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งหลายบริษัทอาจถือหุ้นกับคนในครอบครัวหรือเพื่อน และถ้าเราทำการขายหุ้นเพิ่มทุน จะเกิดการ Dilution หรือลดสัดส่วนของผู้ถือหุ้นเดิมลง ซึ่งผู้ใหญ่ที่บ้านบางคนอาจไม่เข้าใจและอาจไม่ยอม ผมเคยเจอกรณีนี้เช่นกันกับลูกค้าบางท่าน ที่ต้องพยายามสร้างความเข้าใจให้ คุณปู่ คุณย่าที่ถือหุ้นเดิมของบริษัทอยู่ และใช้เวลาถึง 2 ปีกว่าจะเข้าใจและยอมรับ
    ว่าหุ้นลดลงก็จริง แต่มูลค่าต่อหุ้นจะโตขึ้น

FAQ5Web.jpg

FAQ5

หากทำการขายหุ้นเพิ่มทุน 

จะกระทบอำนาจในการบริหารและการตัดสินใจ

ทางธุรกิจของผู้ก่อตั้งหรือกรรมการหรือไม่ ?

กรณีศึกษาในอดีตเช่น Steve Job ที่เป็นผู้ก่อตั้ง Apple แต่โดนบอร์ดบริหารโหวตออก หรือ ผู้ก่อตั้ง Open AI / ChatGPT ที่ล่าสุดโดนบอร์ดบริหารโหวตออกเช่นเดียวกันแต่ก็กลับมาได้ เพราะ Microsoft ที่ถือหุ้นใหญ่สามารถค้านอำนาจบอร์ด บริหารได้ หรือผู้ก่อตั้งบริษัทในไทยหลายๆ คน ที่ขายหุ้นเพิ่มทุนแบบไม่วางแผนจนทำให้โดนแทรกแซงจากกลุ่มผู้ถือหุ้นและบอร์ดบริหาร

ซึ่งจริงๆ แล้ว การขายหุ้นเพิ่มทุนไม่ได้เป็นอุปสรรค์ที่จะทำให้อำนาจการบริหารหรือการตัดสินใจทางธุรกิจของกรรมการหรือผู้ก่อตั้งลดลง หากเรา   

คำนวน Maximum Dilution หรือการกำหนดสัดส่วนการขายหุ้นเพิ่มทุน

เพื่อให้ผู้ก่อตั้งบริษัทนั้น ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ กล่าวคือ เรารู้ตั้งแต่แรกว่า เราจะขายหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมดจำนวนกี่หุ้นตลอดระยะเวลาของการระดมทุนของ Private Placement หรือที่ยังเป็น " บริษัทจำกัด "  และเราควรได้เงินเข้ามาในบริษัทเท่าไหร่จากการขายหุ้นทั้งหมดที่กำหนดไว้

ดังนั้นความรู้เรื่องการขายหุ้นเพิ่มทุนเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเจ้าของธุรกิจทุกคน

FAQ6Web.jpg

FAQ6

เราสามารถขายหุ้นเพิ่มทุน ให้กับใครได้บ้าง ?

บริษัทที่ออกหุ้นเพิ่มทุน เพื่อขายในราคาที่สูงกว่าราคาพาร์ “ Premium Price “ นั้นสามารถขายให้กับใครก็ได้ ทั้งบุคคลธรรมดา / บริษัทที่เป็นนิติบุคคล / ธนาคาร / กองทุนต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  โดยการทำสัญญา ซื้อ-ขาย หุ้น ต่อกัน โดยขั้นต่ำที่ 1 หุ้น ตามกฏหมายกำหนด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว บริษัทที่ออกหุ้นเพิ่มทุนนั้น จะทำการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมดและแบ่งขายเป็นรอบๆ ซึ่งแต่ละรอบจะมีราคา

ที่ไม่เท่ากัน หรือเรียกว่า " Premium Price / Series " 

โดยราคาในรอบถัดไปมักจะมีราคาที่สูงขึ้นตามการเติบโตและมูลค่าของบริษัท
ตัวอย่างเช่น บริษัทออกหุ้นเพิ่มทุนมาทั้งหมดจำนวน 1,000,000 หุ้น ( หนึ่งล้านหุ้น )

โดยแบ่งเป็น 5 รอบรอบละ 200,000 หุ้น

รอบที่ 1 : 200,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท = บริษัทผู้ขายหุ้นจะได้เงินจำนวน 20 ล้านบาท

รอบที่ 2 : 200,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 200 บาท = บริษัทผู้ขายหุ้นจะได้เงินจำนวน 40 ล้านบาท

รอบที่ 3 : 200,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 300 บาท = บริษัทผู้ขายหุ้นจะได้เงินจำนวน 60 ล้านบาท
รอบที่ 4 : 200,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 400 บาท = บริษัทผู้ขายหุ้นจะได้เงินจำนวน 80 ล้านบาท

รอบที่ 5 : 200,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 500 บาท = บริษัทผู้ขายหุ้นจะได้เงินจำนวน 100 ล้านบาท

ซึ่งจากตารางนี้ เป็นตัวอย่างทำให้เห็นว่า การถยอยขายหุ้นเป็นรอบๆ ที่ราคา Premium สูงขึ้นตามมูลค่าบริษัทนั้น จะทำให้บริษัทได้เงินลงทุนถึง 300 ล้านบาท

และการแบ่งการขายหุ้นทั้งหมดที่เราจะขายเป็นรอบๆ นั้น จะทำให้เราสามารถคำนวนหุ้นที่เสียไป และเงินที่จะได้เข้ามาอย่างชัดเจน เพื่อประเมินการโดนลดสัดส่วนแต่ละครั้งของผู้ถือหุ้นเดิม

ซึ่งเราจะทราบว่าหุ้นที่ขายเพิ่มทุนไปทั้งหมดนั้นกับเงินทุนที่ได้มานั้น    จะทำให้เราโดนลดสัดส่วน ( Dilution ) เหลือเท่าไหร่ เราจำเป็นต้องทราบหุ้นเดิมที่เราถืออยู่ทั้งหมดและหุ้นทั้งหมดของบริษัท   เพื่อมาคำนวนร่วมกันกับหุ้นที่เราได้ขายเพิ่มทุนไป

black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. It's easy.

การขายหุ้นเพิ่มทุน แตกต่างและดีกว่า การกู้เงินจากธนาคารยังไง 

ภาระทางการเงินและต้นทุนทางด้านการเงิน

  • การกู้ธนาคารมีภาระดอกเบี้ยที่แน่นอน หรือที่เรียกว่าต้นทุนทางด้านการเงิน ซึ่งสวนทางกับการทำกำไรของธุรกิจที่อาจไม่แน่นอน

  • การขายหุ้นเพิ่มทุน จะมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าการกู้ธนาคารและไม่มีภาระดอกเบี้ยผูกพัน ส่วนการจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบาย เช่นการกำหนดว่า 3 ปีแรกของการซื้อหุ้นจะไม่มีการจ่ายปันผล ซึ่งผู้ถือหุ้นโดยส่วนใหญ่จะคาดหวังกับส่วนต่างราคาหุ้นหรือที่เรียกว่า "Capital Gain" มากกว่าการจ่ายปันผล และหลายๆ บริษัทจึงไม่มีนโยบายการจ่ายปันผลเลยจน  กระทั่งเข้าสู่กระบวนการ IPO

เครดิตและเครื่องมือทางด้านการเงิน

  • การกู้ธนาคารจะใช้รายการเดินบัญชี/ สัญญาทางธุรกิจ หรือหลักทรัพย์ในการค้ำประกันการกู้ซึ่งเป็นเครื่องมือทางด้านการเงินหลักและอาจเป็นเครื่องมือเดียวสำหรับบริษัท "จำกัด" ในอดีต

  • การระดมทุนด้วยการขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ PP    เป็นการใช้เครื่องมือทางด้านการเงินเพิ่มเติมของบริษัท "จำกัด" และเป็นการเรียนรู้พร้อมปูพื้นฐานเพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่ IPO ในอนาคต เช่น โครงสร้างบัญชีที่โปร่งใสเพื่อเปิดเผยให้แก่นักลงทุน, การบริหาร ธุรกิจที่มีการกำกับดูแลและมาตราฐานด้านต่างๆ เพื่อให้นักลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบันยอมรับ
    และมีความรู้ความเข้าใจเครื่องมือทางด้านการเงินอื่นๆ เมื่อเข้าสู่ IPO และตลาดทุนในอนาคต

การสนับสนุนทางธุรกิจ

  • การกู้ธนาคาร เราจะได้รับการสนับสนุนในบางเรื่องจากธนาคารในฐานะลูกหนี้ เพื่อให้บริษัทสามารถทำกำไรและใช้หนี้คืนพร้อมดอกเบี้ยให้กับธนาคารได้

  • การขายหุ้นเพิ่มทุน นอกจากเราจะได้เงินจากนักลงทุนแล้ว สิ่งที่อาจจะได้มากกว่าเงินลงทุน คือสายสัมพันธ์จากผู้ถือหุ้นและการช่วยเหลือจากผู้ถือหุ้นในมิติต่างๆ เพราะผู้ถือหุ้นทุกคน อยากให้บริษัทเติบโตและมีมูลค่าหุ้นที่สูงขึ้น ปัจจัยดังกล่าวจะทำให้ บริษัทมีทรัพย์กรทั้งทางตรงและทางอ้อมจากผู้ถือหุ้นที่หลากหลายเพื่อช่วยผลักดันธุรกิจของเราให้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เรียกได้ว่า ได้ทั้งเงินลงทุน ได้ทั้งทรัพยากรต่างๆ ของผู้ถือหุ้น เป็นแรงส่งเข้ามาในธุรกิจของเรา

ตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการขายหุ้นเพิ่มทุน

WongnaiPPWeb
RentSpacePPMobileandweb
FalshPPWeb_edited.jpg
CentralPPweb
241686896_1139993543199919_5434802491237121103_n_edited.jpg
black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

หากเราทำการขายหุ้นเพิ่มทุน เราต้องใส่ใจเรื่องอะไรบ้าง 

การขายหุ้นเพิ่มทุนนั้น กรรมการหรือผู้ก่อตั้งบริษัทจำเป็นต้องให้ความสนใจ 3 เรื่องดังต่อไปนี้

01

วินัยทางด้านการเงิน และความโปร่งใสของบัญชีบริษัทที่สามารถตรวจสอบได้

เมื่อเราขายหุ้นได้มาแล้ว เงินที่ได้มาจะเป็นการบันทึกในส่วนทุนของบริษัท

หรือเรียกว่า “ Source Of Fund “ และกรรมการลงนามจะนำเงินดังกล่าวไปใช้ในกิจกรรมของบริษัท หรือเรียกว่า “ Use Of Fund
ซึ่งการใช้เงินของบริษัทต้องมีการบันทึกบัญชีและปิดบัญชีอย่างถูกต้องและตรวจสอบได้ หากกรรมการลงนาม นำเงินของนักลงทุนไปใช้ผิดประเภท และไม่โปร่งใสจะทำให้นักลงทุนในอนาคต ทั้งสถาบันการเงินต่างๆ ขาดความเชื่อมัน และตั้งคำถามกับกรรมการลงนาม จนนำไปสู่การขาดความเชื่อมั่นจากนักลงทุนและไม่สามารถขายหุ้นเพิ่มทุนต่อได้

ซึ่งจะทำให้นักลงทุนที่ได้ซื้อหุ้นมาก่อนหน้านี้จะเกิดความเสียหายไปด้วย และนำไปความล้มเหลวในการขายหุ้นเพิ่มทุน 

02

นิติกรรม และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

กรรมการลงนามเปรียบเสมือนตัวแทนของผู้ถือหุ้นทุกคน ที่จะปกป้องและดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และบริษัท ซึ่งแตกต่างจากบริษัทที่มีเจ้าของคนเดียว
ดังนั้น เอกสาร สัญญา และนิติกรรมต่างๆ ต้องรัดกุมในรายละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับกรรมการลงนามไปจนถึงบริษัทและผู้ถือหุ้นได้

03

การบริหาร และการจัดการภายในของบริษัท

บริษัทที่ไม่ได้ขายหุ้นหรือเป็นเจ้าของคนเดียว เราอาจเรียกตัวเองว่า “ เจ้าของ “ หรือ “ เถ้าแก่ “และอาจมีวิธีบริหารจัดการทางธุรกิจแบบเจ้าของเป็จุดศูนย์กลาง

แต่เมื่อเรามีการขายหุ้นเพิ่มทุน บทบาทของกรรมการลงนามจะเปลี่ยนไป เป็นสถานะ CEO หรือ ผู้บริหารมืออาชีพ ที่ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับหลักการบริหารธุรกิจแบบ Corporate เพื่อสร้างมาตราฐานที่รองรับการเติบโตได้มากขึ้น และเป็นการปรับโครงสร้างการบริหารด้านต่างๆที่จะเป็นแนวทางมุ่งสู่บริษัท “ มหาชน “ ในอาคต

black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

การระดมทุนแบบที่ 2 ด้วย ICO/IDO

cryptocurrency-coins-falling-from-black-scene-digital-currency-coin-financial-token-exchan

การระดมทุน แบบ ICO ด้วย Token 

 ปัจจุบันการระดมทุนด้วยการขายเหรียญแบบ ICO หรือ IDO กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทยเราได้เห็นหลายบริษัททำการออกเหรียญเพื่อระดมทุนสำเร็จไปแล้ว เช่น Real X Token ของบริษัท Origin Properties หรือ JFIN Coin ของบริษัท JMART 

 ซึ่งการออกจำหน่ายเหรียญหรือ Token ในประเทศไทยต้องทำบทกฏหมายทรัพย์สิน Digital และขายผ่าน ICO Portal ที่ได้รับอณุญาติเท่านั้น

[ ตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอณุญาติ ]

ซึ่งผู้ที่สนใจที่จะระดมทุนแบบ ICO จำเป็นต้องศึกษา และวางแผนต่างๆ ที่จะสามารถจัดเตรียมได้อย่างครบถ้วนก่อนทำการเสนอขาย เพื่อลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ได้

ข้อดี ของการระดมทุนด้วยการทำ ICO/IDO

  • เปลี่ยนธุรกรรมของธุรกิจให้เป็นมูลค่า "ที่คนอื่นลงทุนได้" [ Utility Token ]

  • เปลี่ยนทรัพย์สินของธุรกิจให้เป็นมูลค่า "ที่คนอื่นลงทุนได้"
    [ Investment Token ]

  • เป็นการระดมทุนที่นักลงทุนสามารถลงทุนขั้นต่ำได้เพียงแค่ "10 บาท"

  • ใช้เทคโนโลยีในการระดมทุน ที่ทำให้สามารถเข้าถึงนักลงทุนรายย่อยได้ง่ายขึ้น

  • การระดมทุนด้วยเหรียญ แบบ IDO จะเกิด Investment Liquidity ได้ทันที
    และนักลงทุนสามารถทำกำไร จากราคา ขึ้น-ลง ได้เลย โดยไม่ต้องรอเหมือนหุ้นที่ต้องเข้า IPO เพื่อให้มี Investment Liquidity

  • นักลงทุนสามารถทำธุรกรรม ทั้งการซื้อเหรียญ และเปลี่ยนเป็นเงินสด ได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง

  • สามารถสร้างสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับนักลงทุนที่ซื้อเหรียญ ได้ง่ายกว่าหุ้น เช่น Airdrop, Coin Back, NFT Membership หรืออื่นๆ

  • ขั้นตอนการลงทุน "ง่าย" และซับซ้อนน้อยกว่า

  • บริษัทไม่เสียหุ้น ไม่เสียสัดส่วนความเป็นเจ้าของ (Dilution) ของผู้ก่อตั้ง

  • ไม่มีข้อผูกมัดทางนิติกรรม (ผู้ถือเหรียญ ไม่ได้อยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น)

  • ผลประกอบการและมูลค่าบริษัทไม่สะท้อนราคาหรือมูลค่าของเหรียญ

New Project (5).jpg

ยินดีด้วย ที่คุณอ่านมาถึงตรงนี้
เพราะการอ่านเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ

Today a Reader Tomorrow a Leader

black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

ห้องเรียนการเงินจะ ใช้เวลา 1 วัน

เรียนรู้ทั้งการขายหุ้นเพิ่มทุน และการทำ ICO/IDO

ท่านจะได้เรียน อะไรบ้าง

01.

เรียนรู้การขายหุ้นเพิ่มทุนอย่างละเอียด

02.

เรียนรู้การวางโครงสร้างบริษัทก่อนขายหุ้นเพิ่มทุน

03.

เรียนรู้การวางโครงสร้างหุ้นและ Dilution

04.

เรียนรู้การกำหนดราคาหุ้นและ Premium Price

05.

เรียนรู้ Business Model เพื่อการขายหุ้นเพิ่มทุน

06.

เรียนรู้เครื่องมือและวิธีการสื่อสารสำหรับการขายหุ้น

07.

เรียนรู้และเข้าใจ Token ประเภทต่างเพื่อ ICO/IDO

08.

เรียนรู้ Technology ที่จะใช้สำหรับ ICO/IDO

09.

เรียนรู้ Token Economy และ Liquidity Pool

10.

เรียนรู้ Customer และ In-House   App สำหรับธุรกิจ

black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

สิทธิพิเศษ เฉพาะท่านที่ได้เข้าห้องเรียนการเงิน

ซึ่งคุณจะหาไม่ได้จากการเรียนที่อื่น เพราะเราทำงานให้คุณด้วยหลังจากเรียนเสร็จ

ไม่ใช่แค่เรียน แต่ให้คุณสามารถ ใช้การเงินเชิงรุก ได้จริงๆ ในธุรกิจ

1 : วิเคราะห์ เพิ่มเติม หรือปรับปรุง  Business Model  ให้เหมาะกับการเงินเรื่องทุนมากยิ่งขึ้น

 การคิด วิเคราห์ หรือปรับปรุง Business Model ท่านอาจต้องทำเองหรือต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญมาทำให้ แต่ปัญหาคือจะใช้ได้จริงๆ หรือเปล่า นำไปปฏิบัติต่อยอดได้ดีแค่ไหนและจะถูกใจนักทุนไหม  ซึ่งงานส่วนนี้ เรามี Case Study ที่ทำมาแล้วมากกว่า 200 บริษัททั่วโลก และเราจะทำให้คนที่เข้าห้องเรียนการเงินเราเท่านั้น  เป็นการทำ Business Model Workshop    ให้แต่ละท่านหลังจากที่ท่านได้เรียนจบแล้ว    ในวัน/เวลา ที่ท่านสดวก และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ซึ่งการคิดวิเคราะห์ Business Model ที่ดี ต้องมองให้ครบ 360 องศาของธุรกิจหรือที่เรียกว่า  Business Ecosystem สามารถเห็นทรัพย์สิน ( Aseet ) หรือทรัพย์สินที่ซ่อนอยู่ของธุรกิจได้และเข้าใจ Technology ต่างๆ  พร้อมทั้งเข้าใจตลาดและนักลงทุน

ยกตัวอย่างเช่น  มีบริษัทหนึ่งเป็นธุรกิจด้านงานอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานช่างเฉพาะทาง ซึ่งบริษัทมีข้อมูลของช่างเฉพาะทางในประเทศไทยจำนวนมาก ดังนั้นสามารถต่อยอดจากธุรกิจเดิมให้เป็น Head Hunter   พร้อมกับ Job Board Application

และเป็น Market Place สำหรับงานสายช่างเฉพาะทาง  ซึ่งในต่างประเทศแรงงานกลุ่มนี้ขาดแคลนและค่าตัวสูงมาก

และ HR Recruitement ในตลาดเช่น JobDB หรืออื่นๆ เป็นเพียงแค่คนทำงานในสาย Office หรือเรียกว่า " White Collar "

ยังไม่มี HR Recruiement ด้านช่างเฉพาะทางหรือ " Blue Collar " ในตลาดเลย   หากเราพัฒนาต่อยอดจากธุรกิจเดิม เป็น HR Recruitement  สำหรับ  ช่างเฉพาะทางแล้วนั้น อาจเติบโตและมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทเหมือน JobDB ก็ได้

* รวมอยู่ในห้องเรียนการเงินแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

2 : วางโครงสร้างบริษัทและโครงสร้างหุ้นก่อนการขายหุ้นเพิ่มทุน

การวางโครงสร้างบริษัทและโครงสร้างหุ้นไปพร้อมๆ กันเพื่อให้เป็นการเงินเชิงรุกนั้น ต้องใช้ความรู้หลายด้าน

ทั้งเรื่องกฏหมายและนิติกรรม พร้อมทั้งความรู้เรื่องการเงินและการคำนวนต่างๆ  

ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะหาคนที่มีความรู้ทั้ง 2 อย่างๆ ไปพร้อมๆ กันมาทำให้   ซึ่งทุกท่านที่เข้าห้องเรียนการเงินของเราจะ

ทำ WorkShop เรื่องนี้ให้เป็นรายบุคคลหลังจากที่ท่านได้เรียนจบแล้ว    ในวัน/เวลา ที่ท่านสดวก และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม  

เพื่อให้ท่านเห็นตัวเลขและโครงสร้างที่สำคัญต่างๆ ก่อนตัดสินใจขายหุ้นเพิ่มทุนในอนาคต  เช่น 

1 : ทุนจดทะเบียนบริษัทควรเป็นเท่าไหร่

2 : ราคา Par ควรกี่บาทต่อหุ้น

3 : จำนวนหุ้นที่จะเพิ่มทุนเพื่อขาย จะมีจำนวนกี่หุ้น

4 : จะขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวนกี่รอบ รอบละกี่หุ้น

5 : จะตั้งราคาหุ้น ( Premium Price ) หรือมูลค่าบริษัท ที่เท่าไหร่ในการขายหุ้นเพิ่มทุนแต่ละรอบ

6 : จะได้เงินทุนทั้งหมดเท่าไหร่ จากการขายหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด

7 : ผู้ก่อตั้งเดิมจะโดน Dilution หรือลดสัดส่วนความเป็น  เจ้าของเหลือเท่าไหร่ กับเงินที่ได้มาและหุ้นที่ขายออกไป ก่อนบริษัท IPO

8 : หากผู้ก่อตั้ง ( Founder ) มากกว่า 1 คน จะบริหารสัดส่วนยังไงเพื่อไม่ให้มีปัญหาในการบริหารและกระทบต่อธุรกิจในอนาคต

 

 และคำถามอื่นๆ อีกมากมายในเชิงโครงสร้างทางตัวเลขที่สัมพันธ์กันเพื่อตัดสินใจก่อนขายหุ้นเพิ่มทุน"

* รวมอยู่ในห้องเรียนการเงินแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

3 : สิทธิขอใช้บริการด้านต่างๆ จากเรา แบบ One Stop Service

เหตุผลที่ห้องเรียนการเงินของเราแตกต่างจากการเรียนทั้วไป เพราะหลังจากเรียนแล้ว เรามีบริการสนับสนุนต่างๆ จาก

ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คุณสามารถทำได้จริง  แบบ One Stop Service Solutin

ไม่ใช่เรียนเพียงแค่รู้ แล้วแยกย้าย จ่ายเงินค่าเรียนแบบไม่มีอะไรดีขึ้น  เพราะถ้าคุณสำเร็จนั่นคือความสำเร็จของเรา

ซึ่ง One Stop Service Solution ของเรานั้น ไม่ได้เิปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป เนื่องด้วยงานบริการด้านนี้ไม่สามารถ

ทำในเชิงปริมาณได้ แต่ละคนแต่ละบริษัทจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องโครงสร้างการเงิน โครงสร้างบริษัทและแผนธุรกิจ

ดังนั้น งานบริการเกี่ยวกับการขายหุ้นเพิ่มทุนและการทำ ICO/IDO นั้นมีไว้สำหรับคนที่เรียนการเงินและทุนกับเราเท่านั้น

ซึ่งการทำงานด้านนี้   จำเป็นต้องใช้การทำงานในหลายด้านด้วยกัน เช่นการดำเนินงานด้านนิติกรรมต่างๆ  ของบริษัทหรือนิติบุคคล  /  สัญญาผู้ถือหุ้นใหม่ / การนำผู้ถือหุ้นใหม่เข้าบัญชีผู้ถือหุ้น  หรือการทำงานด้านการสื่อสารและเครื่องมือทางการตลาดเช่น การนำ Business Presentation เพื่อนำเสนอนักลงทุน การทำสื่อทั้งภาพนิ่ง และ Video ต่างๆ  , การจัดทำ Company Website  หรือการจัดทำ  Business Plan & Feasibility Study  ในการนำเสนอนักลงทุน  หรืองานด้าน Technology ต่างๆ เช่น Customer Application ที่ใช้สำหรับรองรับลูกค้าที่ขยายขึ้น หรือ In-House Application ที่จะใช้สำหรับการบริหารจัดการภายในของบริษัทให้ดีขึ้นเพื่อให้คุณสามารถทำการขายหุ้นเพิ่มทุนได้ง่ายที่สุดและเร็วที่สุด

* อัตราค่าบริการต่างๆ  ไม่ได้รวมในค่าเรียนห้องเรียนการเงิน

4 : สิทธิเข้าร่วม Lucky Club เพื่อสร้างและต่อยอด Connection  ให้สำเร็จในระยะยาว

สมาชิกใน Lucky Club นั้นจะได้รับคัดเลือกจากคนที่เข้าเรียนห้องเรียนการเงินแล้วเท่านั้น  เพราะการที่เราจะสร้าง Connection ที่ดีได้ ความรู้ทางด้านการเงินเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ

ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่า   "เงินปะปนอยู่ในการขับเคลื่อนของทุกรูปแบบความสัมพันธ์"

ดังนั้นความรู้ทางด้านการเงินและทุนเป็นเรื่องที่จำเป็นในสร้างและเชื่อมความสัมพันธ์ ( Connection ) ให้เติบโตอย่างแข็งแรงบนเป้าหมายเดียวกันในระยะยาวได้ และทั้งความโชคดีหรือโชคร้ายที่เกิดขึ้นมี  " ราคา " ที่ต้องจ่าย  ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนเวลา

ต้นทุนทางโอกาศ ต้นทุนการเงิน หรือแม้แต่ต้นทุนทางความรู้สึก ซึ่งการที่เราจะสร้างความโชคดีและสร้าง Connection ให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดได้นั้น วิชาการเงินจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

และการเชื่อมความสัมพันธ์กันทางธุรกิจ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตยิ่งจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องการเงิน

* ค่าสมาชิก Lucky Club ไม่ได้รวมในค่าเรียนห้องเรียนการเงิน

5 : สิทธิรับเชิญร่วมงาน Global Business Conference ร่วมกับกลุ่ม Lucky Club

ทุกท่านที่เข้าห้องเรียนการเงิน จะได้สิทธิรับเชิญเดินทางร่วมกันเป็นกลุ่มคณะ ( Group )  พร้อมกับสมาชิก Lucky Club

และท่านสามารถเลือกที่จะไปหรือไม่ไปงานไหนขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละท่านที่ไม่เหมือนกัน

ซึ่งการเดินทางไปต่างประเทศแบบ Business Trip ด้วยงานสัมนาทางธุรกิจและ  Business Conference นั้น

เหมือนเราได้ทั้งไปเที่ยวและทำงานพร้อมๆ กัน    หลายๆ คน รวมทั้งผมด้วย ถ้าหากให้ไปเที่ยวต่างๆ ประเทศ ก็เริ่มกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ เพราะลักษณะก็เป็นแบบเดิมๆ คือเข้าห้องพัก หาร้านอาหารอร่อย ถ่ายรูป ทำกิจกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งในแต่ละประเทศกิจกรรมเหล่านี้ก็ไม่ต่างกันมากนัก

แต่การที่เราจะได้ทั้งไปเที่ยวและธุรกิจในเวลาเดียวกัน  จะเติมพลังให้เราได้มากกว่าด้วยซ้ำ เพราะเราจะได้เจอผู้คนใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยว เช่นถ้าเราไป 5 วัน เราอาจเที่ยวแค่ 2 วันก็เพียงพอแล้ว และอีก 3 วันร่วมงาน Business Conference

ก็จะเป็นรูปแบบการเดินทางที่ครบทุกมิติพร้อมกับประสบการณ์ใหม่ๆ

และ  Connection  ที่สร้างผ่านงานสัมนาทางธุรกิจและ Business Conference ในแต่ละประเทศทั่วโลกนั้น ถือว่าเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการพัฒนาเพื่อเป็น นักลงทุน คู่ค้าหรือเปิดโอกาศบางอย่างให้กับเรา เพราะทุกคนที่เจอในงานจะมีเป้าหมายเดียวกัน และแต่ละงานก็จะมีหัวข้อที่ชัดเจน ในการคัดกรองคนกลุ่มนั้นมาร่วมงานและเลือกไว้ให้เราแล้ว

* การเดินทางไปต่างประเทศ  ไม่ได้รวมในค่าเรียนห้องเรียนการเงิน

black-paper-texture-background-black-blank-page.jpg

ทั้ง 5 ข้อที่ท่านได้อ่านมา พิเศษเฉพาะคนที่เข้าห้องเรียนการเงินกับเราเท่านั้น

ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อสมัครเข้าห้องเรียนการเงิน

และเราจะติดต่อกลับไปเพื่อสอบถามและพูดคุยเบื้องต้น

อย่าพลาดความโชคดีนี้ก่อนหมดเวลาลงทะเบียน

365d

24h

60m

60s

รับเพียง 30 ท่านต่อ Class

เราสามารถรับได้สูงสุดเพียง 30 ท่านต่อครั้งต่อเดือนเท่านั้น เพราะหลังจากจบ Class แล้ว เราต้องติดตามและทำงานด้านการวางแผนต่างๆ ให้ทุกท่านเป็นรายบุคคลต่อไป

วันเรียนครั้งถัดไป

วันเสาร์ที่ 23 กุมถาพันธ์ 2024 เวลาตั้งแต่ 9.00 - 18.00 โดยจะพักทานข้าวเที่ยง 1 ชม และมีอาหารค่ำหลังจากเลิกเรียนเป็น Dinner Party ให้ทุกท่านได้สร้าง Connection ต่อกัน

สถานที่เรียน

ห้อง Auditorim ที่สามารถจุได้ถึง 50 ท่านของโรงแรมซัมเมอร์เซ็ท เอกมัย กรุงเทพฯ

Google Map GPS : 13.72332990711751, 100.58673648835182

ราคา

50,000 บาทต่อท่าน

(Inc Vat) ชำระเมื่อยืนยันการเข้าเรียน และได้รับ Invoice

หากท่านไม่สามารถมาเรียนในวันที่กำหนดได้ ท่านสามารถเลื่อนวันเรียนได้อีก 2 ครั้ง

ลงทะเบียนห้องเรียนการเงิน

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน

ทุนจดทะเบียนของบริษัทของคุณ
คุณเคยมีประสบการในการระดมทุนมาก่อนหน้านี้หรือไม่

ค่าเรียน 50,000 บาท

ชำระเมื่อผ่านสัมภาษณ์เท่านั้น

ทางบริษัทจะส่งใบแจ้งค่าชำระไปให้ เมื่อท่านผ่านการสัมภาษณ์

bottom of page