

ONE STOP SERVICE SOLUTION
บริการที่เกี่ยวข้อง เฉพาะสมาชิก Lucky Club เท่านั้น

การขายหุ้นเพิ่มทุน และการทำ ICO/IDO มีหลายองค์ประกอบที่จะทำให้สำเร็จได้
ทั้งเรื่องของนิติกรรมต่างๆ ของบริษัท / กฏหมาย / บัญชี / การเงิน / การประสานงานกับหน่วยงานราชการการ / การจัดเตรียมเอกสารเฉพาะ / การสื่อสารและเครื่องมือทางการตลาด
รวมไปถึงงานด้าน Technology ทั้งการทำ Customer Application เพื่อรองรับลูกค้าและตลาดที่ขยายตัว พร้อมทั้ง In-House Application ที่จะสนับสนุนการทำงานด้าน Business Operation
และที่สำคัญคือทุกเรื่องต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัท
บางท่านอาจมีความพร้อมที่สามารถทำได้ แต่หลายท่านอาจไม่พร้อมและการ สร้างทีมหรือหาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องทำได้ยาก และไม่คุ้มทั้งเรื่องของต้นทุนและเวลา
ดังนั้นเราจึงออกแบบบริการสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้คนที่เข้าเรียนห้องเรียนการเงินกับเรานั้น สามารถทำได้ทันที ไม่ใช่แค่เรียนอย่างเดียว เพื่อทำให้การขายหุ้นเพิ่มทุนหรือการทำ ICO/IDO เกิดขึ้นได้จริง
ซึ่งปัจจุบันเราได้ดูแลมากกว่า 30 บริษัทในประเทศไทย และมากกว่า 200 บริษัททั่วโลก
ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของเรา จะทำให้ฝันของคุณเป็นจริงได้
และความโชคดีทางธุรกิจจะเป็นของคุณอย่างแน่นอน

บริการส่วนที่ 1 : จำนวน 4 ส่วนงาน
ฟรีสำหรับทุกท่านที่ได้เข้าห้องเรียนการเงิน
โดยเราจะทำการ Follow UP เป็นรายบุคคล หลังจากจบห้องเรียนการเงิน ทั้งแบบเจอหน้า ( On Site ) หรือผ่าน Zoom Meeting
Business Model
ปรับปรุง เพิ่มเติม สำหรับ Business Model และ Business Ecosystem เพื่อให้มีความชัดเจนสำหรับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น เช่นการเพิ่มเติม Technology หรือการเพิ่มเติมจากจุดแข็งเดิมของธุรกิจ
Company
structure
วางโครงสร้างทางนิติกรรมของบริษัทจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการขายหุ้นเพิ่มทุน ก่อนจะจดจัดตั้งหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใด
เช่นโครงสร้างหุ้นของกลุ่มผู้ก่อตั้ง
# ซึ่งอาจมีผู้ก่อตั้งมากกว่า 1คน
# จำนวนเงินทุนจดเะเบียน
# ราคาพาร์ที่เหมาะสม
# และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการขายหุ้นเพิ่มทุนที่จะกระทบกับนิติกรรมและโครงสร้างของบริษัท
Financial model
คำนวนโครงสร้างหุ้นและจำนวนหุ้นทั้งหมดที่สามารถขายหุ้นเพิ่มทุนได้ บนทุนจดทะเบียนบริษัทและราคาพาร์ เพื่อจะได้ทราบว่าจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จะขาย
เพื่อประเมินและเปรียบเทียบกับสัดส่วนที่โดนลด ( Dilution ) ของเจ้าของเดิมกับเงินลงทุนที่ได้มาและหุ้นที่จะต้องเสียไป ว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม ควรปรับตัวเลขส่วนไหน เช่นต้องปรับทุนจดทะเบียน หรือต้องปรับราคาพาร์ หรือยอม Dilution เพิ่มเติม
ซึ่งข้อมูลทางตัวเลขทั้งหมดใช้สำหรับการตัดสินใจก่อนทำงานจริง
premium price & company vaLualtion
กำหนดมูลค่าบริษัทของแต่ละช่วงเวลา ( Series ) สำหรับการขายหุ้นเพิ่มทุน
เพื่อกำหนด Premium Price ของราคาหุ้นแต่ละรอบ ( Series ) ให้สอดคล้องการ Business Model และโครงสร้างบริษัท / โครงสร้างหุ้น
ที่จะกระทบกับการลดสัดส่วน
( Dilution ) ของเจ้าของเดิม เพื่อ
เงินทุนที่ได้รับมา กับจำนวนหุ้นที่เสียไปในราคาที่สมเหตุสมผล

บริการส่วนที่ 2 : จัดทำนิติกรรมของบริษัท " จำกัด " เพื่อขายหุ้นเพิ่มทุน
ดำเนินงานทางนิติกรรมและกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท "จำกัด" โดยทีมกฏหมายที่เชี่ยวชาญ
ปรับโครงสร้างและทำการเปลี่ยนแปลง นิติกรรมของบริษัท " เดิม "
เพื่อทำการขายหุ้นเพิ่มทุน
ยื่นจดทะเบียนบริษัท " ใหม่ "
เพื่อทำการขายหุ้นเพิ่มทุน
ค่าใช้จ่ายและเวลาในการดำเนินงานทั้ง
2 ประเภทไ่ม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน
ซึ่งขึ้นอยู่กับรายละเอียดของแต่ละบริษัท
ที่ไม่เหมือนกัน เช่น ทุนจดทะเบียน /
จำนวนหุ้น / ราคาพาร์ที่กำหนด /
จำนวนผู้ก่อตั้ง / จำนวนกรรมการและกรรมการลงนาม / และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริการส่วนที่ 3 : สัญญาซื้อ-ขายหุ้นเพิ่มทุน
และการนำรายชื่อผู้ถือหุ้นใหม่เข้าทะเบียนหุ้น
1:ขึ้นทะเบียนหุ้นเพิ่มทุน
นำหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมดตามที่เราได้วางแผนที่จะขาย ไปขึ้นทะเบียนหุ้นใหม่
เพื่อรอการขาย
2:ทำสัญญาซื้อ -ขายหุ้น
เมื่อมีนักลงทุนสนใจเพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุน
จะต้องทำหนังสือสัญญา ซื้อ-ขายหุ้นแต่ละครั้ง ทั้งการระบุจำนวนหุ้น ราคาต่อหุ้น และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลงนามทั้งคนซื้อและคนขาย
3:ขึ้นทะเบียนผู้ถือหุ้นใหม่
เมื่อมีนักลงทุนที่ทำสัญญาซื้อ-ขายหุ้น พร้อมชำระเงินค่าหุ้นสำเร็จแล้วนั้น
จำเป็นต้องนำรายชื่อบุคคล/กองทุน/หรือบริษัทดังกล่าว เข้าจดทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นใหม่ตามกฏหมายนิติบุคคลของบริษัทจำกัด

บริการส่วนที่ 4 : จดทะเบียนบริษัทต่างประเทศ

Corporate law
กฏหมายนิติบุคคลของการจดทะเบียนบริษัทแต่ละประเทศ เช่น Main Land หรือ Freezone / ทุนจดทะเบียนขั่นต่ำ หรือข้อกำหนดอื่นๆ
Visa and Residency
การทำธุรกิจต่างประเทศ Visa เป็นเรื่องสำคัญ และการจดทะเบียนบริษัทในแต่ละประเทศ จะได้รับ Visa and Residency ที่ไม่เหมือนกัน เช่น Investor Visa หรือ Employment Visa ซึ่งจะมีคุณสมบัติและความสามารถในการทำธุรกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกัน
accounting and taxation
แต่ละประเทศจะมีระบบบัญชีและโครงสร้างภาษีที่ไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน เช่นบางประเทศ ไม่มีภาษี หรือที่เรียกว่า
"tax haven" หรือบางประเทศมีภาษีบางประเภทที่แตกต่าง
กันไป
Finance and Banking
การทำธุรกรรมกับธนาคารแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน เช่นบางประเทศต้องมีเงินฝากขั่นต่ำ หรือบางประเทศสามารถเปิดบัญชีธนาคารโดยใช้ Passport ไทยได้ แต่บางประเทศจะเปิดบัญชีธนาคารได้ต้องใช้ Residency Visa ที่ผ่านการจดทะเบียนบริษัทแล้วเท่านั้น

บริการส่วนที่ 5 : งานวิจัยแผนธุรกิจและแผนการเงิน



1:Market Research
2:Business Plan
3:Feasibility Study
งานวิจัยการตลาด
(Marketing Research) คือหนึ่งในกระบวนการทำการตลาด โดยอาศัยกระบวนการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างโอกาส และสร้างกลยุทธ์การตลาด ให้กับธุรกิจของตัวเองบริการในการเข้าใจลูกค้า เข้าใจคู่แข่ง เข้าใจตลาด
โดย
1:จะช่วยลดความเสี่ยงและโอกาสในการตัดสินใจที่ผิดพลาด
2:จะช่วยกำหนดกลยุทธ์การทำธุรกิจและการตลาด
3:จะช่วยรักษาฐานลูกค้าเก่าเอาไว้ได้อย่างมั่นคง
จัดทำแผนธุรกิจ
(Business Plan) คือแผนการดำเนินงานธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย โดยครอบคลุมแผนธุรกิจด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการจัดการ ด้านการดำเนินงาน ด้านการเงิน รวมถึงการจัดการความเสี่ยง ซึ่งจะนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานทางธุรกิจ หรือเรียกว่า Implementation Plan ก็ได้
และยังเป็นเครื่องมือสื่อสารไปถึงนักลงทุนที่สนใจให้เข้าใจธุรกิจและการทำงานของเรามากขึ้น
จัดทำแผนการเงินการลงทุน
( Feasibility & Investment Plan ) เป็นกระบวนการที่ใช้ข้อมูลพื้นฐาน และการคาดคะเนอย่างเป็นระบบมาใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนหรือการใช้เงิน ( Use of Fund ) ในกิจกรรมทางธุรกิจหรือโครงการต่างๆ ของบริษัทตามแผนธุรกิจหรือ Business Model เพื่อให้สอดคล้องกับเงินที่ใช้ในการลงทุน ( Sources of Fund ) เพื่อจะได้มีข้อมูลทางจัวเลขในการตัดสินใจหรือคาดการ การทำกำไร การคืนทุน การมีรายได้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย หรืออื่นๆ ทั้งเพื่อให้ผู้บริหารใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจและให้นักลงทุนได้เห็นแนวทางในการใช้เงินที่ระดมทุนมาได้

บริการส่วนที่ 6 : งานสื่อสารและการตลาดด้านการเงินและทุน
การสื่อสารและการทำการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการเงินและทุนนั้นจะแตกต่างจากทำการตลาดทั่วไป หรือเราเรียกว่า
ความต่างระหว่าง Financial Product และ Commercial Product เพราะการสื่อสารเกี่ยวกับการเงินและทุนนั้นจะมีเป้าหมายเพื่อให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุนแตกต่างจากให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อของ เพราะการลงทุนไม่ใช่ Functional Product เหมือนสินค้า



1:CI &Branding
2:Informative Website
3:Investment Prospectus
งานออกแบบ CI & Branding หรืออัตลักษณ์ของบริษัทและธุรกิจที่เราทำ ไม่ใช่เพียงแค่ Logo ซึ่ง CI & Branding จะประกอบไปด้วย
1:รูปแบบอักษรหรือ Front ที่ใช้
2:ลักษณะการจัดเลย์เอาท์
3:ชุดสี โทนสี สัดส่วนการใช้สี
4:รูปแบบและลักษณะของภาพที่ใช้
5:ลายเส้นต่างๆ
และอื่นๆ
ซึ่ง CI&Branding นั้นจะเป็นสารตั้งต้นของงานออกแบบอื่นๆของบริษัทเพื่อให้ชิ้นงานต่างๆที่ใช้ในการสื่อสาร ( Communication Material ) อยู่ในรูปแบบเดียวกัน และเป็น Design Guide Book ให้ทีมออกแบบและทีมงานทางการตลาดได้ใช้ทำงานได้สดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การทำ Website ของบริษัท หรือ Informative Website นั้น เพื่อเป็นการสื่อสารให้กับ
1:นักลงทุนที่ต้องการเข้ามาดูข้อมูลต่างๆ
2:คนที่อยากจะสมัครงานกับบริษัท
3:กลุ่มลูกค้าของบริษัท
4:กลุ่ม Partner หรือ Supplier ของบริษัท
ซึ่ง Informative Website ของบริษัทนั้นจะไม่ใช่ Application และ Informative Website จะทำเพื่อการสื่อสารของบริษัทในมุมต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรามีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น ความท้าทายของ Informative Website คือการออกแบบและการนำข้อมูล
รวมไปถึงการสร้างเนื้อหา ( Content )ต่างๆ
ที่จะนำมาลงใน Informative Website
Investment Prospectus หรือ หนังสือชี้ชวน
เป็นเครื่องมือการสื่อสารสำหรับการขายหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งจะแตกต่างจาก Company Profile
เนื่องด้วย Investment Prospectus นั้นจะนำรายละเอียดด้านต่างๆ ไปในทิศทางที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ที่มาของธุรกิจ และการเติบโตที่จะสร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนได้
ดังนั้นข้อมูลที่จะอยู่ในหนังสือชี้ชวนหรือ Investment Prospectus นั้นจะมาจากหลายส่วนด้วยกัน ทั้งข้อมูลที่ได้จาก Feasibility Study ข้อมูลที่ได้จาก Business Plan หรือข้อมูลที่ได้จาก Market Research
ดังนั้น Investment Prospectus ถือว่าเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่สำคัญ สำหรับการขายหุ้นเพิ่มทุน หรือใช้สื่อสารเพื่อทำ ICO/IDO ได้ด้วยในเวลาเดียวกัน



4:Motion Video
5:Video Production
6:Business Presentation
Motion Video คือการทำ Video แบบ Animation 2D หรือ 3D ด้วยการวาดตาม Story Board หรือเรื่องราวที่เราอยากเล่า
ซึ่ง Motion video จะใช้สำหรับการนำเสนอ
1:Business Model & Ecosystem
2:การขายหุ้นเพิ้มทุนหรือการ ICO/IDO
3:อธิบายการทำงานของ Application
4:อธิบายขั้นตอนหรือกระบวนการบางอย่าง
โดย Motion Video นั้นจะมีความยาวไม่เกิน
5 นาที เพื่อเป้าหมายในการนำเสนอที่จะให้ผู้ชมเข้าใจได้ง่ายที่สุด และอาจมีทั้งเสียงไทย/Eng/หรือภาษาอื่นๆ ก็ได้
Video Product หรือการผลิต Video ทีมีนักแสดงจริง เช่นการถ่ายทำโฆษณา/การทำคลิปสั้นหรือคลิปยาวต่างๆ
โดยการทำ Video Production นั้นจะแตกต่างจาก Motion Video
เพราะมีการออกกองถ่ายทำ มีการหาพื้นที่ Location ในการถ่ายทำ เตรียมกล้องและไฟที่เหมาะกับงานหรือสถานที และมีคนหรือ
นักแสดงร่วมอยู่ด้วยตาม Story Board หรือฉากที่เราต้องการ ซึ่งเราอาจใช้ Founder
หรือผู้ก่อตั้งมาร่วมฉากต่างๆ เพื่อสร้าง Founder Softpower ไปด้วยในเวลาเดียวกัน
และนำงานหรือ Footage ทั้งหมดไปตัดต่อ ซึ่งอาจตัดต่อร่วมกับ Motion Video ก็ได้ เพื่อเป็นลักษณะงานผสมผสาน
Business Presentation เพื่อการนำเสนอสำหรับนักลงทุนหรือผู้ที่สนใจในธุรกิจของเรา
ที่ใช้ในประกอบการพูดหรืออธิบาย ทั้งการพูดแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม หรือการขึ้นเวทีต่างๆ เพื่อให้ผู้ฟัง ( Audience ) เข้าใจและเห็นภาพเดียวกัน กับในสิ่งที่เรากำลังพูด เพื่อป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และทำให้การนเสนอของเรามีความเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Business Presentation 1 หน้าจะไม่ได้มีข้อมูลอัดแน่นเหมือน Investment Prospectus หรือ Business Plan
ฺีBusiness Presentation จะนำข้อความ หรือตัวเลขที่มีความสำคัญด้านต่างๆ เพื่อสร้างความเห็นด้วย หรือโน้มน้าวผู้ฟังให้เห็นไปในทิศทางเดียวกันกับผู้พูด

บริการส่วนที่ 7 : Technology & Application

บริการด้าน BA [ Business Analysis ]
BA คือการทำ Business Analysis และออกมาเป็น Business Requirement เพื่อ
1:ให้ทางทีมออกแบบได้จัดทำ UX/UI ให้เป็นไปตามการใช้งานทางธุรกิจและเงื่อนไขทางธุรกิจตาม Business Model & Business Ecosystem
2:.ให้ทีม Programmer และทีม Technical ได้มีแนวทางในการทำงานที่ชัดเจน ทั้งการกำหนดโครงสร้าง ( Infarstructure ) หรือการออกแบบระบบ ( SA ) รวมไปถึงการ Coding ในส่วนต่างๆ ตามความต้องการทางธุรกิจและเงื่อนไขต่างๆ ของ Business Model & Ecosystem
ซึ่งการทำงานของ Application นั้นจะทำงานร่วมกับ Business Operation ในส่วนงานต่างๆ ดังนั้นการทำ BA & Business Requirement จะทำให้เราทราบ Function หรือ Feature ต่างๆ ของ Application ที่เรากำลังจะทำ โดยมีการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน
และปัญหาส่วนใหญ่ที่ Application ไม่สำเร็จจะมาจากการทำงานที่ไม่ได้กำหนดขอบเขต
จนทำให้เป็นการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงมากจนเกินไปตามความต้องการที่หลากหลายเกินความจำเป็น

บริการด้าน UX / UI Design
การออกแบบ UX/UI คือการออกแบบการใช้งานของ Application ซึ่ง
# UX คือ User Experience Design
# UI คือ User Interface Design
ซึ่งการออกแบบทั้งการใช้งานที่ง่ายและให้ประสบการณ์ที่ดีสำหรับผู้ใช้นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับการทำ Application
เพราะแม้แต่ธุรกิจเดียวกัน เช่น Shoppee กับ Lazada ที่ทำธุรกิจ E-Commerce เหมือนกัน แต่การออกแบบ UX/UI ไม่เหมือนกัน ซึ่งนั้นทำให้เกิดกลุ่มผู้ใช้คนละกลุ่มกันอย่างชัดเจน
ซึ่งเป้าหมายในการทำ UX/UI มีดังนี้
1:เพื่อให้ทีมพัฒนา ( Programing & Coding ) สามารถมีความชัดเจนในการทำงานบน UX/UI และ BA ที่กำหนดไว้แล้ว
2:เราสามารถนำ UX/UI เป็น App Prototype ไปนำเสนอนักลงทุนหรือผู้สนใจได้ก่อน เพราะจะทำให้ทุกคนเห็นภาพ Application ชัดเจน และค่อยนำเงินมาลงทุน Programing & Coding ต่อ และเราอาจได้คำแนะนำดีๆ เพื่อมาปรับเปลี่ยนการใช้งานของ Application และทำการแก้ไขเพียง UX/UI ก่อนที่จะพัฒนา Programing & Coding

บริการด้าน Mobile Application
การพัฒนา Application ทั้ง
1:SA ( System Analysis )
1.1 : Technology ที่จะใช้
1.2 : ภาษา และ Framework ที่จะใช้
1.3 : Software ที่จะใช้
1.4 : การวิเคราห์ จัดทำเอกสารทาง Technical ต่างๆ
1.5 : อุปกรณ์ที่จะใช้ทั้งหมด
2:infrastructure Design
2.1 : Database Design
2.2 : Cloud and Network System
2.3 : Dev Opp
3:Programing & Coding
3.1 : การ Coding ทั้ง Front และ Back
3.3 : การ Go Live & Public
และการทำ Application นั้นจะมีทั้ง
A : Customer Application ที่ทำเพื่อรองรับกรเติบโตของลูกค้าและผู้ใช้งานในการ Market Scalble หรือการขยายตลาด
B : In-House Application ที่ทำเพื่อรองรับการทำงานภายในของพนักงานและทีมงานของบริษัทในการสนุนงานด้านต่างๆ

บริการด้าน TOKEN & Smart Contract
การสร้าง Token นั้นจำเป็นต้องเขียนและสร้างบน Smart Contract ภายใต้ระบบ Blockchain
เพื่อทำให้เหรียญหรือ Token ของเราสามารถ
พิสูจน์ตัวตนได้บนโลกของ Crypto Currency ว่ามีเหรียญของเราจริงๆ
และเมื่อเราได้ Token บนระบบ Blockchain แล้ว
เราจำเป็นต้องนำเหรียญ ( Token ) ของเราไปทำให้มีค่า โดยเอา BTC/ETH/USDT ไปค้ำกับเหรียญที่เราสร้าง หรือเรียกว่า
" Liquidity Pool " ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับเงินบาทที่พิมพ์ขึ้นมาจำเป็นต้องเอาทองคำไปค้ำประกันเพื่อให้เงินบาทมีค่า
โดยมูลค่าตั้งต้นของเหรียญเรานั้น ขึ้นอยู่กับมูลค่าของทรัพย์สินที่เรานำไปค้่ำกระกันใน Liquidity Pool
เมื่อเหรียญ ( Token ) ของเรามีมูลค่าตั้งต้นแล้ว จะทำให้เหรียญของเรามีมูลค่าที่สูงขึ้นก็จะเป็นไปตาม Demand & Supply เช่นเดียวกันกับโลกการเงินทั่วไป เช่นคนต้องการ US Dollar เยอะ ทำให้มูลค่า US Dollar สูงขึ้น ค่าเงินแข็ง
ดังนั้น เราจำเป็นต้องสร้าง Business Ecosystem ให้แข็งแรงเพื่อให้มีคนที่ต้องการใช้เหรียญ (Token) ของเรา และทำให้ราคาเหรียญของเราเติบโตขึ้น

ติดต่อประสานงาน ICO Portal
หากเราสร้างเหรียญ ( Token ) ขึ้นมาแล้วนั้นแต่ยังไม่ได้นำทรัพย์สินไปค้ำใน Liquidity Pool เพื่อให้เหรียญมีค่า แสดงว่าเหรียญนั้นจะเป็นเพียงแค่ Token ที่ยังไร้ค่า
และถ้าหากเราต้องการนำ Token ที่ยังไม่มีค่าไประดมทุนผ่านการขาย Token ที่ยังไม่มีค่านั้น เราจำเป็นต้องทำผ่าน ICO Portal เท่านั้น
เพราะ Token ที่ยังไม่มีค่า และยังไม่มีทรัพย์สินใดๆ ค้ำประกัน หมายความว่า จะเป็น Token ที่ความเสี่ยงสูง ดังนั้นต้องมีหน่วยงานเข้ามา
กำกับดูแล ทั้งเรื่องกฏหมายและความโปร่งใส
ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ และกลต ได้กำหนดให้ผู้ที่จะระดมทุนด้วยวิธี ICO จำเป็นต้องทำผ่าน ICO Portal ที่ได้รับอณุญาติเท่านั้น
ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อ ICO Portal ที่ได้รับอณุญาตตาม Link นี้ [CLICK]
ซึ่งเราจะมีบริการช่วยท่านติดต่อประสานงานกับ ICO Portal หากท่านต้องการระดมทุนด้วยวิธี ICO

ติดต่อประสานงาน Exchange Market
การทำให้เหรียญ ( Token ) มี Liquidlity หรือมีความคล่องตัวและความสามารถในการ
แลกแปลี่ยนหรือทำกำไรให้กับนักลงทุนหรือผู้
ที่ถือเหรียญเราได้นั้น จำเป็นต้องนำเหรียญ (Token) ของเรา Listing บนการดานเทรด
หรือที่เรียกว่า Exchange Market
และเราสามารถเสนอเหรียญ (Token)ของเราขึ้นกระดานเทรด ( Exchange Market ) ได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับกฏและกติกาของแต่ละ Exchange Market ที่ไม่เหมือนกัน
ซึ่งเหรียญ (Token)ของเราสามารถขึ้นกระดานเทรดระดับโลกเช่น Binance / OKX/Coinbase ได้เช่นเดียวกัน โดยผ่านกระบวนการตามที่ Exchange นั้นๆ กำหนด
และเราสามารถนำเหรียญ (Token)ของเราขึ้นได้มากกว่า 1 กระดานเทรด เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่และประเทศให้ได้มากที่สุดได้อย่างไม่จำกัด
บนโลกของ Crypto Currency